เรื่องของรูรับแสง เลนส์ที่รูรับแสงกว้าง แสงจะเข้าที่กล้องมาก ถ่ายภาพกลางคืนได้ดี และที่สำคัญคือทำให้เกิดเอฟเฟคที่ชอบมากคือหน้าชัดหลังเบลอ ส่วนรูรับแสงแคบ คือตรงกันข้าม ภาพจะเข้าที่กล้องน้อยลง แต่จะได้เอฟเฟคที่เกิดการชัดลึก คือภาพชัดทั้งภาพเลย เหมาะกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
ปริมาณแสง ลองสมมติว่าเราอยู่ในห้องที่มีหน้าต่างอยู่บานเดียว แล้วมีแสงจากข้างนอกเข้ามาทำให้ห้องสว่าง ถ้าเราเอาผ้าม่านทึบค่อยๆปิดหน้าต่างไปเรื่อยๆ ห้องก็ต้องมืดลงๆหลักการเหมือนกัน แค่เปรียบว่าหน้าต่างคือเลนส์, ผ้าม่านคือรูรับแสง และห้องคือเซนเซอร์รับภาพถ้ารูรับแสงกว้างจะทำให้ภาพออกมาสว่าง ส่วนรูรับแสงแคบภาพก็จะออกมามืด
ความชัดลึกชัดตื้นของภาพ
เหตุผลหลักที่เราต้องเปลี่ยนค่ารูรับแสงก็เพราะว่าต้องการสร้างสรรค์ภาพให้วัตถุมีความโดดเด่นมากขึ้น เทียบความแตกต่างได้
จากภาพข้างล่างจากภาพจะเห็นได้ว่ายิ่งรูรับแสงกว้าง ยิ่งละลายฉากหลังได้ดี, รูรับแสงแคบภาพก็จะชัดหมด แค่นี้เราก็สามารถทำภาพชัดตื้นชัดลึกได้แล้ว
ว่ากันด้วยเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์หลักเลยคือเราใช้จับภาพที่เคลื่อนไหวให้นิ่ง แต่ก็มีผลกระทบเหมือนกันคือเมื่อความเร็วชัตเตอร์เราเพิ่มขึ้น แสงจะเข้ากล้องน้อยลง เพราะงั้นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงควรใช้ในสถานที่ ที่อยู่กลางแจ้ง มีแสงมาก เพื่อจะได้ไม่ต้องเพิ่ม ISO
แต่ Speed Shutter ที่ช้าลงจะทำให้เราเก็บแสงได้มากขึ้น และก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่เราใช้ในการลากแสงไฟนั่นเองดังนั้นการจะใช้ชัตเตอร์เท่าไหร่นั้นไม่มีกฎตายตัวนะ อยู่กับว่าเราอยากได้ภาพแบบไหน และเรากำลังเจอสถานการณ์ไหนนั่นเอง
ความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้สองแบบ แบบแรกคือช่วยให้คุณหยุดเวลาไว้” นักเขียนและช่างภาพ Jeff Carlson อธิบาย “ถ้าคุณถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบเร็วๆ ชัตเตอร์จะเปิดและปิดอย่างรวดเร็วและถ่ายภาพส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่
แต่ก็จะมีกรณีที่คุณอยากถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ แต่เปิดรูรับแสงค้างไว้เพื่อปล่อยให้แสงผ่านเข้ามามากขึ้น Carlson อธิบาย คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ ในสภาพแวดล้อมที่มืดสลัวได้ในกรณีที่คุณต้องการแสงเพิ่มเพื่อถ่ายภาพอย่างเหมาะสม
ISO เป็นความไวแสงที่กล้องมี ถ้ายิ่ง ISO มาก กล้องก็จะไวแสงมาก ข้อดีคือ ISO สูงจะทำให้เราถ่ายภาพในที่มืดได้ แต่การที่ ISO สูงมากก็จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนหรือว่า Noise นั่นเอง
ดังนั้นการเลือกใช้ ISO ก็ควรดูด้วยว่าเราต้องการอะไรในภาพตอนนั้น ถ้าเราถ่าย Landscape กลางแจ้ง มีขาตั้ง เราก็ไม่ต้องดัน ISO ใช้ต่ำที่สุดที่กล้องให้ก็ได้
แต่ถ้าหากเราถ่ายภาพในอาคาร เราไม่สามารถเพิ่มรูรับแสง หรือลดสปีดจนถือกล้องได้แล้ว เราก็ควรเลือกที่จะดัน ISO เพื่อให้กล้องรับแสงได้ไวขึ้น มี Noise ดีกว่าไม่ได้ภาพเลยนะ
เราจะเห็นได้ว่าในช่องมองภาพของกล้องเราที่ผู้ผลิตทำมาจะมีจุดตัด 9 ช่อง ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักในแนวตั้ง และ 3 ส่วน หลักในแนวนอน โดยจุดตัดนี้เราจะใช้วิธีการจัดองค์ประกอบร่วมกันสองแบบ
วิธีแรกที่จะใช้ก่อนเลยคือ กฎสามส่วน วิธีนี้มักจะใช้แบ่งสัดส่วนของพื้นดินและท้องฟ้า ถ้าต้องการนำเสนอท้องฟ้าให้เด่น ก็เป็นท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน, ถ้าเน้นพื้นดินก็ พื้นดิน 2 ส่วน ท้องฟ้า 1 ส่วน
จากนั้นเราจะสร้างจุดสนใจให้กับแบบ ถ้าเราสังเกตเวลาถ่ายภาพเราจะไม่วางจุดสนใจไว้ตรงกลางภาพเท่าไหร่ วิธีการนั้นคือวางแบบหลักให้อยู่ตรงจุดตัด 9 ช่อง ดูต้นไม้นี้นะ ถูกวางไว้ในจุดตัดอย่างชัดเจน ทำให้แบบดูน่าสนใจเลย